หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นหน่วยหลักๆ
ดังนี้
ผังแสดงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
หน่วยรับข้อมูล คือ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลรับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
โดยแปลงข้อมูลหรือคำสั่ง นั้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อทำการประมวลผลต่อไป
อุปกรณ์รับข้อมูล ได้แก่
หน่วยประมวลผลกลาง(Central
Processing Unit : CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง คือ
ส่วนที่ทำหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งที่รับมาจากหน่วยรับข้อมูล
และควบคุมการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หน่วยประมวลผลกลางประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ
หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ
ในระบบทั้งหมด ให้ทำงานอย่างถูกต้อง
หน่วยคำนวณ (Arithmetic Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลทางคณิตศาสตร์และทางตรรกะ
เช่น การคำนวณทาง คณิตศาสตร์ ได้แก่ การบวก ลบ คูณ หาร
-
การกระทำทางตรรกะ (AND , OR)
- การเปรียบเทียบ เช่น การเปรียบเทียบค่าของข้อมูล 2
ตัวว่ามีค่าเท่ากัน มากกว่า หรือน้อยกว่า
ไม่ว่าข้อมูลจะเป็นตัวเลข
หรือตัวอักษรก้สามารถเปรียบเทียบได้
- การเลื่อนข้อมูล (Shift)
- การเพิ่มและการลด (Increment and Decrement)
- การตรวจสอบบิท (Test Bit)
หน่วยความจำหลัก(Main Memory)
หน่วยความจำหลัก
เป็นหน่วยความจำที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. รอม (ROM : Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำหลักที่
- ใช้บรรจุโปรแกรมสำคัญ
ที่ใช้ในการสตาร์ทอัพเครื่อง
- เก็บโปรแกรมคำสั่งไว้อย่างถาวร
- ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง
ข้อมูลก็จะยังคงอยู่
- เขียนหรือบันทึกข้อมูลคำสั่งได้เพียงครั้งเดียว
ในขั้นตอนการผลิตเครื่องจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้อีก
- อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว และการเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
2. แรม (RAM : Random Access Memory)
-
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่รับเข้ามาจากหน่วยรับข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผล
-
ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้ขณะทำการประมวลผลซึ่งยังไม่ใช่ผลลัพธ์สุดท้าย
-
ทำหน้าที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลซึ่งเป็นผลลัพธ์สุดท้าย
- ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งต่างๆ
ขณะที่เรากำลังทำงานอยู่กับเครื่อง เพื่อใช้ในการประมวลผล
- เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลหรือโปรแกรมไว้ชั่วคราว
สร้างขึ้นเพื่อผู้ใช้โดยตรง
- สามารถอ่านหรือเขียนทับข้อมูลลงไปได้ตามต้องการ
ถ้าไฟดับข้อมูลจะสูญหาย
- การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบสุ่ม
หน่วยความจำสำรอง (Secondary
Memory)
หน่วยความจำสำรอง เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อมูล
และโปรแกรมที่ต้องการใช้งานในคราวต่อไปได้ ซึ่งสามารถบรรจุข้อมูล
และโปรแกรมได้เป็นจำนวนมาก
อุปกรณ์ที่เป็นหน่วยความจำสำรอง ได้แก่
จานแม่เหล็ก
สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยตรง (Direct
Access) ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์
เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) สามารถบันทึกและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับ
(Sequential Access) การบันทึกทำโดยสร้างสนามแม่เหล็กลงบนเนื้อเทป
จานแสง (Optical Disk) เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลได้ปริมาณมากสามารถอ่านและบันทึกข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์
เช่น CD-ROM (Compact Disc
Read-Only Memory) มีความจุข้อมูลสูงมาก ตั้งแต่ 650 เมกะไบท์ (MB) สามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้
หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยแสดงผล
คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล
การแสดงผลลัพธ์ แบ่งเป็น 2 แบบ
การแสดงผลทางจอภาพ เรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Soft
Copy คือ จะแสดงผลลัพธ์ขณะที่มีกระแสไฟฟ้าอยู อุปกรณ์คือ
จอภาพคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งภาพบนจอประกอบด้วยจุดหรือ pixel หลายๆ pixel สามารถแสดงผลความละเอียดได้หลายระดับ
เช่น
640 * 480 จุด ,800 * 600 จุด , 1024 * 786 จุด
การแสดงผลทางจอภาพ
หรือเรียกได้อีกอย่างว่าเป็น Hard Copy คือ
สามารถแสดงผลลัพธ์คงทนอยู่นาน ไม่ต้องใช้กระแสไฟฟ้าเลี้ยง อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Printer
ทางเดินของระบบ (system bus)
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
ถ้าเปรียบเทียบกับระบบโครงสร้างร่างกายของมนุษย์เราน่าจะเปรียบเทียบได้ง่าย
และเห็นภาพชัดเจน
เพราะอย่างน้อยคนเราส่วนใหญ่คงจะพอรู้ระบบโครงสร้างการทำงานของร่างกายของเราเองอยู่บ้างไม่มากก็น้อย
ดังนั้นระบบการทำงานของบัสก็จะคล้ายกับเส้นเลือดในร่างกายของมนุษย์นั่นเอง
สำหรับทำหน้าส่งถ่ายกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
ซึ่งกระแสเลือดในระบบคอมพิวเตอร์ก็ คือ
ข้อมูล (Data) นั่นเองบัส คือ ทางเดิน หรือ
ช่องทางระหว่างอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารภายในคอมพิวเตอร์
บัสที่ถูกเรียกเฉพาะตามวัตถุประสงค์การใช้งานมีตัวอย่างดังนี้
• Processor Bus
• System Bus
• Frontside or Gunning Transceiver
Logic plus (GTL+) Bus
• Main Memory Bus
• Host Bus
• Local Bus
• Internal Bus
• External Bus
ส่วนประกอบของ System Bus มีดังนี้
• Address Bus
• Data Bus
• Control Bus
แสดงโครงสร้างของระบบบัสซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้
แอดเดรสบัส (Address Bus) ใช้สำหรับ
• ถ่ายโอนต้นทาง
(Source) และปลายทาง (Distination)
ของการส่งข้อมูลบน
Data Bus
• ชี้ตำแหน่งของหน่วยความจำที่ระบุโดย
Microprocessor, Bus Masters หรือ Direct
Memory Access (DMA) Controller
ดาต้าบัส (Data Bus) คือทางเดินสำหรับรับ-ส่งข้อมูลระหว่างโพรเซสเซอร์
(Processor) กับหน่วยความจำ (Memory)
หรือ
หน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุทเอาท์พุท (I/O)
คอนโทรลบัส (Control Bus) คือทางเดินสำหรับสัญญาณควบคุมการทำงานของส่วนต่างๆระหว่างโพรเซสเซอร์กับหน่วยความจำและอุปกรณ์อินพุท
เอาท์พุท ตัวอย่างเช่น
•W/R - Write/Read
•IRQ - Interrupt Requests
•BCLK - Bus Clock
• DRQ - DMA Requests
https://sites.google.com/site/teachermoomeng/khxmphiwtexr-beuxng-tn/hlak-kar-thangan-khxng-khxmphiwtexr
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น